วันศุกร์, สิงหาคม 19, 2548

เอาเพลงออกจาก iPod แบบง่ายๆ ฉบับ Macintosh

จากบทความของคุณ IIIxe_user ที่ Freemac dot NET ตาม link นี้ครับ เอาเพลงออกจาก iPod แบบง่ายๆ ที่บอกวิธีเอาเพลงจาก iPod ทาง Windows ผมเลยมาลองทำบน Mac ดูก็ปรากฎว่าทำได้เหมือนกันครับ

ปล. วิธีนี้พิเศษเฉพาะผู้ใช้ Macintosh เท่านั้นนะครับ Windows หมดสิทธิ <- : ) ขอเลียนแบบหน่อยครับ

เริ่มกันตั้งแ่ขั้นตอนแรกครับ คือต้อง set ให้ iPod ใช้งานเป็น disk storage เสียก่อนโดยการเปิด iTunes ขึ้นมาแล้วไปที่เมนูนี้ครับ



แล้วเข้าไปที่แท็บของ iPod จากนั้นให้เลือก Enable disk use ที่อยู่ด้านล่างสุด



แล้วก็กด ok จากนั้นก็ปิด iTunes ได้เลยครับ

ขั้นต่อไปก็เปิด terminal ขึ้นมาเลยครับ
สาเหตุที่ต้องเปิด terminal ก็เพราะว่า directory ที่เก็บเพลงของ iPod ไม่สามารถมองเห็นได้ตามปกติเหมือน directory ครับ เลยต้องเล่นเทคนิคเล็กน้อย

เมื่อเปิด termainal ขึ้นมาก็เริ่มต้นด้วยการพิมพ์คำสั่งนี้ครับ
cd /Volumes/
จากนั้นลองดูไฟล์โดยใช้คำสั่ง ls ซึ่งก็จะเห็น iPod อยู่ในรายการด้วยครับ ซึ่งชื่อ directory ของ iPod ก็จะเป็นตามชื่อของ iPod ครับ


กดคลิกที่รูปเพื่อดูภาพใหญ่ได้นะครับ

จากนั้นก็ตะลุยเข้าไปใน directory ที่เก็บไฟล์เพลงกันเล้ย

เข้าไปยังจุดหมายโดยใช้คำสั่งตามนี้เลยครับ
cd <ชื่อ iPod>/iPod_Control/Music/
จากนั้นก็ลองใช้คำสั่ง ls ดูอีกรอบก็จะพบเป็น directory เก็บเพลงล่ะครับ


เพลงที่เก็บอยู่ใน directory ดังกล่าวส่วนมากจะถูกเก็บอยู่ใน directory ต้นๆ ครับ ซึ่งเจ้าตัว iPod ของผมมันเก็บแต่ F00 - F05 นอกนั้นไม่มีไฟล์อยู่

สำหรับการเอาเพลงออกมาก็มีสองทางให้เลือกครับ
1. copy ด้วยคำสั่ง cp หรือ
2. ทำ symbolic link ไปที่ directory เก็บเพลง (เหมือนการทำ shotcut นั่นแหละครับ)

วิธีที่ 1. copy ด้วยคำสั่ง cp
อันนี้จะลองตัวอย่างโดยการ copy directory F00 ไปวางไว้บน desktop นะครับ
cp -R F00 ~/Desktop/
cp -R F01 ~/Desktop/
cp -R F02 ~/Desktop/
...

วิธีที่ 2.
วิธีนี้จะไม่ใช้การ copy ไฟล์ออกมาครับ แต่จะแค่ทำ link ไปหา directory ที่เก็บเพลงเท่านั้น เริ่มด้วยคำสั่ง
ln -s /Volumes/<ชื่อ iPod>/iPod_Control/Music/F00 ~/Desktop/
ln -s /Volumes/<ชื่อ iPod>/iPod_Control/Music/F01 ~/Desktop/
ln -s /Volumes/<ชื่อ iPod>/iPod_Control/Music/F02 ~/Desktop/
...
ซึ่งวิธีนี้สามารถลบ link ได้เมื่อไม่ใช้งานแล้วได้โดยไม่กระทบต่อข้อมูลใน iPod แต่อย่าไปลบไฟล์เพลงที่อยู่ใน link เข้าล่ะครับ

ซึ่งไม่ว่าจะทำวิธีที่ 1 หรือ 2 ก็จะพบว่าบน desktop จะมี directory F00 อยู่เหมือนกันครับ
รูปข้างล่างเป็น directory ที่เกิดจากการทำ symbolic link ครับ


จากนั้นท่านจะทำอะไรต่อก็แล้วตามสบายเลยครับ

วันจันทร์, สิงหาคม 15, 2548

วิธีการติดตั้ง Thai TrueType Font บน X11

สร้าง directory สำหรับเก็บ TrueType Font ขึ้นมาชื่อ ThaiTTF
นำไฟล์ TTF ที่ต้องการใช้ copy ไปไว้ใน directory ThaiTTF
ทำการย้าย directory ThaiTTF เข้าไปไว้ใน /usr/X11R6/lib/X11/fonts/

เข้าเป็น root แล้วเข้าไปไปใน directory /usr/X11R6/lib/X11/fonts/ThaiTTF
รันคำสั่ง mkfontscale ตามด้วยคำสั่ง mkfontdir เพื่อสร้าง file font list เป็นอันจบกระบวนการ

ส่วนเรื่องที่ว่าจะหา font ได้จากไหนนั้น ถ้าเอาแบบง่ายสุดก็เอา TTF จากใน Windows นั่นแหละครับ

วิธีติดตั้งนี้ได้นำมาใช้งาน X11 ของ Linux, FreeBSD แล้วสามารถใช้งานได้เป็นอย่างดีโดยที่ไม่ต้องทำการ restart X เลยครับ
Setup thailatex on Mac OS X
ในการติดตั้ง thailatex จะแบ่งออกเป็นสองส่วนคือ
1. ติดตั้งส่วนของรูปแบบภาษาไทยที่จำเป็นต้องใช้สำหรับ LaTeX เช่น fonts, babel ปัจจุบัน thailatex เป็นเวอร์ชั่น 0.3.5.1 (2005-07-03)
2. ติดตั้งโปรแกรมตัดคำภาษาไทย เนื่องจาก LaTeX ไม่สามารถตัดคำที่เป็นภาษาไทยได้ จึงต้องใช้โปรแกรมช่วยในการแยกระหว่างคำไม่ให้ตัวหนังสือยาวเกินหน้ากระดาษ โปรแกรมตัดคำภาษาไทยที่ใช้คือ swath

Thai LaTeX setting for teTeX 3
ติดตั้ง teTeX 3 โดยใช้ Fink หรืออาจติดตั้ง FinkCommander เพื่อง่ายในการติดตั้ง teTeX
(ก่อนลง teTeX ต้องลง X11 ด้วยเพราะ teTeX ต้องการ library X ซึ่งมีในแผ่นที่มากับเครื่อง Mac)

ขั้นตอนแรก ติดตั้ง thailatex
ติดตั้ง teTeX จาก Fink เสร็จให้ download ไฟล์ thailatex มาไว้ที่เครื่อง (ไฟล์นี้เป็นไฟล์ที่ผมทำการจัดรูปแบบให้เข้ากับ teTeX 3 แล้ว โดยนำมาจาก thailatex เวอร์ชั่น 0.3.5.1 เนื่องจากถ้าเอา thailatex ต้นฉบับมา compile เองจะยุ่งยากมาก)

ทำการแตกไฟล์ texmf_home.tgz ออกมาจะได้เป็น directory ชื่อว่า texmf

ทำการย้าย directory texmf ไปไว้ใน $HOME/Library เช่น User ชื่อ Apple ก็ให้ย้าย texmf ไปไว้ใน /Users/Apple/Library/

สำหรับขั้นตอนการแตกไฟล์ texmf_home.tgz และย้ายไฟล์สามารถทำได้ในขั้นตอนเดียวโดยใช้คำสั่ง
$ tar xfz texmf_home.tgz -C $HOME/Library

เข้า terminal แล้วรันคำสั่ง texhash เพื่อทำการสร้าง list file ทั้งหมดที่อยู่ใน $HOME/Library/texmf โดยเก็บในไฟล์ ls-R

จากนั้นทำการ run คำสั่ง updmap --enable Map=$HOME/Library/texmf/fonts/map/thai.map เพื่อสร้าง map font list ให้ LaTeX รู้จัก font ไทยและ thai babel

ในขั้นตอนแรกนี้ก็สามารถใช้งาน LaTeX ภาษาไทยได้แล้ว แต่ยังมีปัญหาเรื่องการตัดคำ
ส่วนวิธีการใช้ LaTeX อ่านได้จากเว็บของ Thai LaTeX

ขั้นตอนที่สอง ติดตั้งโปรแกรมตัดคำ swath (ก่อนติดตั้ง swath ต้องลง Xcode ก่อนเพื่อใช้ในการ compile swath)
ทำการ download swath มาไว้ที่เครื่อง
จากนั้นให้ลง package ชื่อ libtool14 โดยใช้ Fink เพื่อใช้ในการ compile swath
หลังจาก download source code ของ swath และติดตั้ง package libtool14
แล้วให้รัน script autogen.sh ทาง terminal เพื่อทำการสร้างไฟล์ configure
ทำการ compile swath โดย พิมพ์คำสั่งดังนี้

$ ./configure
$ make
$ make install

โดยคำสั่ง swath จะถูกติดตั้งใน /usr/local/bin

วิธีใช้คำสั่ง swath ในการตัดคำภาษาไทย
$ swath -f latex < latex_file.tex > latex_file_swath.tex
โดยที่ไฟล์ latex_file.tex เป็นไฟล์ต้นฉบับที่เราสร้างขึ้น และไฟล์ latex_file_swath.tex เป้นไฟล์ที่ผ่านการตัดคำด้วย swath แล้ว
หลังจากนั้นค่อยเอาไฟล์ latex_file_swath.tex ไปใช้สำหรับคำสั่ง latex ต่อ